วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร


                                                                                                        นางสาวพิชชาภา รอบรู้
                                                                                                             สาขาวิชาภาษาไทย  ชั้นปีที ๒

จงหาความหมายการพัฒนาหลักสูตรของนักการศึกทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 92) ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) จะมีความหมายครอบคลุมถึงการสร้างหลักสูตรการวางแผนหลักสูตรการปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
บุญมี เณรยอด (2531:18) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงโครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมและเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
  หัทยา เจียมศักดิ์ (2539: 12) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
ธำรง บัวศรี ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้โดยสรุปว่า หลักสูตรมีความสำคัญต่อการศึกษาส่วนร่วม นั่นคือหลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์หรือเป้าประสงค์ของ การศึกษาของชาติไปแปลงเป็นการกระทำขั้นพื้นฐานในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ถ้าจะกล่าวว่าหลักสูตรคือหัวใจทางการศึกษาก็คงไม่ผิด เพราะถ้าปราศจากหลักสูตรเสียแล้วการศึกษาก็ย่อมดำเนินไม่ได้ และหลักสูตรยังมีความสำคัญต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ถ้าหากไม่มีหลักสูตร ก็สอนไม่ได้เพราะไม่รู้จะสอนอะไร หรือถ้าจะสอนโดยคิดเอาเองก็จะเกิดความสับสน โดยที่อาจสอนซ้ำไปซ้ำมา ไม่เรียงลำดับตามที่ควรจะเป็น ผลการเรียนรู้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ผู้เรียนเองก็จะมีความลำบากใจเพราไม่ทราบว่าสิ่งที่เรียนไปนั้นสามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับระดับใด
โบแชมพ์(Beauchamp 1981) ไดก้ล่าวถึงความหมายของหลักสูตรคือ หลักสูตรเป็นศาสตร์สาขา หนึ่งซึ่งศึกษาถึงกระบวนการพฒันาหลกัสูตรและวิธีใช้นอกจากนี้หลกัสูตรยังมีขอบเขตข้อกำ หนดเกี่ยวกับ การเรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ
เซเลอร์อเลก็ ซานเดอร์และเลวิส (Sayler, Alexander and Lewis.1981: 8) ได้ให้ความหมายของ หลกัสูตรไว้ว่า หลักสูตรหมายถึง แผนการเรียนการสอนที่จัดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่บุคคลที่ได้รับการศึกษา
วิชัย วงษ์ใหญ่(2554) ไดก้ล่าวถึงความหมายของหลกัสูตรไว้ว่าหลักสูตรมีรากศัพท์มาจากภาษา ลาติน หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่ง แข่งขัน เนื่องจากเป้าหมายของหลักสูตรมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เจริญ เติบโตเป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสําเร็จในการดำรงชีวิต ดังนั้น ความหมายของหลัก สูตรที่เป็นที่รู้จักกัน ทั่วไปในปัจจุบันคือ มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวชิากลุ่มวิชา เนื้ออหาสาระรวมทั้ง กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจดัการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร

พิชชาภา รอบรู้ ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น