วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ประเภทของหลักสูตร


ประเภทของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตรหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า รูปแบบของหลักสูตรในปัจจุบันมีผู้กำหนดประเภทของหลักสูตรออกเป็นหลายประเภท แล้วแต่แนวคิดของแต่ละคน ซึ่งมีความหมายที่ตรงกันคือ เพื่อให้ประสบการณ์กับผู้เรียน แต่การกำหนอประเภทของหลักสูตรว่าเป็นประเภทใกนั้นขึ้นอยู่กับการตอยสนองผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอน และสถานการณ์ต่างๆที่เหมาะสม การที่จะเลือกใช้หลักสูตรผระเภทใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และจุดหมายปลายทางของการจัดการศึกษาในแต่ละประเภทและระดับการศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งประเภทของหลักสูตรอาจแบ่งได้คือ ประเภทที่ยึดเอาสาขาวิชาและเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
หลักสูตรนี้ทั้งครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะเคยชินกับหลักสูตรประเภทนี้เป็นอย่างมาก คือเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรแล้วจะพิจารณาหลักสูตรประเภทนี้ก่อนประเภทอื่น หลักสูตรประเภทนี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษามากกว่าในระดับอื่น เนื่องมีการจัดการเรียนการสอนด้วยการบรรยายและใช้ระบบแบบเรียนหรือตำราเรียนเป็นหลัก ซึ่งสามารถแยกได้เป็น
1.1 หลักสูตรแยกรายวิชาหรือเนื้หาวิชา จะแบ่งแยกรายวิชาออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้เห็นรายวิชาและเนื้อหสาระเฉพาะอย่างจะเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนได้รับความรู้เพียงอย่างเดียว และความรู้นัน้เกิดจากการท่องจำเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะนำไปวิเคราะห์หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยเพาะไม่มีเวลาที่จะฝึกฝนทางด้านอื่นๆนอกจากการท่องจำ ซึ่งหลักสูตรประเภทนี้ได้ใช้เป็นเวลานานและบางแห่งก็ยังใช้อยู่
1.2 หลักสูตรสหพันธ์หรือหลักสูตรสัมพันธ์วิชา เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากหลักสูตรแยกรายวิชาด้วยการรวมเอาส่วนที่เหมือนกันทั้งในด้านลักษณะของวิชา คุณค่าและความสำคัญของวิชา และในส่วนที่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกัน 1.3 หลักสูตรหลอมรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่นำเอาวิชาที่มีความใกล้คัยงกันมาหลอมรวมกันแล้วจัดขึ้นเป็นรายวิชาใหม่ เช่น นะวิชาสัตว์ศาสตร์ กับวิชาพืชศาสตร์ เข้าหลอมรวมด้วยกันกลายเป็ยวิชาชีววิทยา เป็นต้นซึ่งหลักสูตรการหลอมรวมวิชาจะมีความคล่องตัวและความยืดหยุ่นูง ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนรู้พื้นฐานความรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้เรียน
1.4 หลักสูตรแกนวิชา เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อการรวบรวมเนื้หาความรู้และประสบการณ์ให้มีความสัมพันธ์และผสมผสานกันแต่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาหลักหรือวิชาแกน ซึ่งวิชาหลักนั้นเป้นวิชาที่ผู้เรียนมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อการเรียนรู้พื้นฐานวิชาต่างๆอันเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนเอง
2. หลักสูตรที่ยึดเอาผู้เรียนเป็นหลัก
หลักสูตรชนิดนี้เป็นหลักสูตรที่ได้ยึดถือมานาน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน จึงต้องยึดถือเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่ ในการกำหนดหลักสูตรการอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียนได้นำมาใช้กับการจัดหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งรายละเอียดแบ่งออกเป็น
2.1 หลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นหลักสูตรที่ว่าด้วยหลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนจะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นในการจัดทำหลักสูตรจึงกำหนดให้คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งในหนึ่งวิชาอาจจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกันอกไปทั้งในด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน คือหลักสูตรต้องมีการกำหนดให้เลือกได้และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งในหลักสูตรจะมีการจัดเนื้อหา การจัดกิจกรรม หรือสื่อการเรียนการสอนท่หลายชนิด รวมทั้งจัดครูผู้สอนที่หลายรูปแบบด้วย
2.2 หลักสูตรประสบการณ์ ใช้กันมากในการจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษา หลักสูตรประเภทนี้อยู่บนพื้นฐานที่ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมา ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนได้ การจัดการหลักสูตรจึงเป็นการจัดเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหา
2.3 หลักสูตรบูรณาการ เป็นหลักสูตรที่นักพัฒนา ได้นำมาใช้ในหลักสูตรประถมศึกษา ด้วยการมุ่งหวังว่า ประสบการณ์ที่จัดไว้ในหลักสูตร เป็นการทำให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการดำรงชีวิตการจัดประมวลประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่เห็นสมควรให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ให้มากยิ่งขึ้น
3. หลักสูตรที่ยึดเอากระบวนการทางทักษะเป็นหลัก หลักสูตรประเภทนี้จะมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะของกระบวนการเรียน ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนอย่างมีระบบ เช่น การจัดหลักสูตรทักษะทางคณิตศาสตร์ และหลักสูตรทักษะทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งยึดการฝึกทักษะให้กับผู้เรียน ด้วยการให้ผู้เรียนได้คิดค้นคว้าความรู้ และฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ การกำหนดหลักการและความรู้ให้กับผู้เรียนจะเป็นเพียงการเสนอแนวทางเท่านั้น ส่วนผลการปฏิบัติและการฝึกฝนจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งใหม่ๆเอง ดังนั้น หลักสูตรกระบวนการทางทักษะจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีทักษะในการเรียนและสามารถควบคุมตนเองได้
การกำหนด รูปแบบของหลักสูตร หรือ ประเภทของหลักสูตร หรือ หลักสูตรแบบต่างๆเป็นการพิจารณาเลือกและจัดเนื้อหาวิชาของหลักสูตรให้สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรซึ่ง การเลือกและการจัดเนื้อหาสาระจะเป็นอย่างไรนั้นจะขึ้นอยู่กับความชื่อที่ว่า รูปแบบนั้นจะช่วยให้ครูสามารถนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลายทางของหลักสูตจรได้ดีที่สุดเพียงใด 
ในขณะเดียวกันการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนจะต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วย ดังนั้น หลักสูตรแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ
1.  จุดกมายเน้นในเรื่องที่ต่างกัน
2.  เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุในหลักสูตรใช้เกณฑ์การเลือกต่างกัน
3.  การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ยึดหลักต่างกัน
4.  เน้นวิธีการสอนและการเรียนที่แตกต่างกัน
5.  เน้นการประเมินผลกาเรียนในประเด็นต่างกัน ตามจุดหายของหลักสูตรแต่ละแบบ
รูปแบบของหลักสูตรที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป 6 แบบซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะสำคัญ จุดเด่น และจุดด้อย ดังต่อไปนี้

1หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject Curriculum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นการถ่ายทอเนื้อหาสาระ ความแม่นยำทางวิชาการเป็นสำคัญ  การจัดเนื้อหาวิชา จัดแยกออเป็นวิชาย่อยๆ ซึ่งแต่ละวิชาไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านเนื้อหาและการสอน เช่น จัดเป็นวิชา อ่านไทย เขียนไทย เรียงความ จดหมาย อ่านเอาเรื่อง หลักภาษา ไวยกรณ์ เคมีชีววิทยา ฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่ผลเมือง ศิลธรรม  ฯลฯ เป็นต้น และสำคัญคือ ได้จัดเรียงลำดับเนื้อหาวิชาไว้เป็นอย่างดีเพื่อการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ ระเบียบ ทำให้การสอนดำเนินไปตามลำดับของความรู้ การเรียนการสอน
2หลักสูตรแบบกว้าง หรือแบบหมวดวิชา (Broad-fields Curriculum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร มุ่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนรู้รอบ หรือรู้กว้างขึ้น การจัดเนื้อหาวิชาจากรายวิชาต่างๆ ที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกันเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีขอบเขต กว้างขึ้น และให้มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชามากขึ้น ในลักษณะของหมวดวิชา เช่น เลือกเนื้อหาวิชา จากวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่ผลเมือง และศิลธรรม มารวมกันเป็นหมวดวิชาสังคมศึกษาเพื่อให้เกิดการผสมผสานความรู้ แต่ในการจัดการเรียการสอนยังคงมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการแต่มีขอบเขตเนื้อหาที่กว้างขึ้นกว่าหลักสูตรแบบรายวิชา การประเมินผลการเรียน ก็คงเน้นด้านความรู้ความจำเป็นสำคัญ ตัวอย่างของหลักสูตรแบบหมวดวิชา คือ หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
3.หลักสูตรแบบแกน (Core Curriculum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและความสนใจของผู้เรียน จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมผู้เรียน การจัดเนื้อหาวิชา ไมแยกออกเป็นรายวิชา หรือรวมกันเป็นหมวดวิชา แต่จะเลือกเนื้อหาวิชาจากสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาหรือหัวเรื่อง หรือแกนที่กำหนดขึ้น การกำหนดแกนอาจทำได้โดย ใช้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน หรือใช้ความต้องการของผู้เรียนเป็นแกนหรือใช้กิจกรรมในสังคมเป็นแกนก็ได้ การเรียนการสอน จะเน้นให้มีการผสมผสานความรู้จากหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่าบูรณาการในการสอน (Integration) การประเมินผล เน้นการปฏิบัติจริง การนำไปใช้
     หลักสูตรแบบแกนนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญก่อให้เกิด หลักสูตรแบบหน่วยกิต ซึ่งนิยมใช้ในระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เช่น กำหนดให้มีวิชาบังคับสำหรับทุกคน มีวิชาเลือกตามความถนัด ความสนใจของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดเลือกมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง






4.หลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ (Acitivty and Experience Curriclum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นผู้เรียนไปตามความต้องการความสนใจและความสามารถของผู้เรียน การจัดเนื้อหาวิชา ยืดหยุ่นไปตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน โดยนิยมจัดเป็นหน่วยประสบการณ์ เข่น ชีวิตในบ้าน ชุมชนของเรา เป็นต้น การเรียนการสอน เน้นประสบการณ์และกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่มและการแก้ปัญหาเป็นหลัก การประเมินผล ให้ความสำคัญกับพัฒนาของตัวผู้เรียนมากกว่าปริมาณของความรู้ ความจำในเนื้อหาวิชา
5.หลักสูตรแบบเพื่อชีวิตและสังคม
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตในการพัฒนาตนเองและปรับปรุงแก้ไขปัญหาของสังคม การจัดเนื้อหาวิชา จะนำเอาสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม และชีวิตจริงผู้เรียนกำลังประสบอยู่มาเรียนกันโดยตรง เป็นหลักสูตรที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของคนในสังคมนั้นโดยตรง การเรียนการสอน เน้นการปฏิบัติ การแก้ปัญหา บทบาทสมมุติ การใช้สถานการณ์จำลอง และความร่วมมือในการทำงาน การประเมินผล เน้นความสามารถในการปรับปรุงตนเอง และการสร้างสรรค์สังคม

6.หลักสูตรแบบสมรรถภาพเฉพาะด้าน
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การจัดเนื้อหาวิชา จะเน้น การจัดระบบข้อมูลความรู้เรียงตามลำดับจากพื้นฐานไปสู่เนื้อหาที่ลึกซึ้งขึ้น การเรียนการสอน เน้นการให้ความรู้พื้นฐานควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญบทบาทของครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ประสานงาน และตรวจสอบสมรรถภาพของผู้เรียนว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในจุดหมายเพียงใด การประเมินผล เน้นความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นประการสำคัญ
สรุป
เมื่อพิจารณารูปแบบของหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าหลักสูตรแต่ละรูปแบบ จึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจว่าหลักสูตรแบบใดดีที่สุด เพราะการวิเคราะห์หลักสูตรว่าฉบับใดดี หรือเหมาะสมหรือไม่เพียงใดนั้น ต้องคำนึงถึงระดับในการจัดการศึกษา สภาพเปลี่ยนแปลงไป หลักสูตรที่เหมาะสมกับยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ก็ย่อมไม่เหมาะกับอีกยุคสมัยหนึ่ง จึงต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ จะไม่มีรูปแบบของหลักสูตรรูปแบบใดแต่เพียงรูปแบบเดียวที่ทีความหมายสมกับการจัดเนื้อหาสาระทั้งหมดในแต่ละหลักสูตร และหากได้ใช้จัดเนื้อหาสาระในหลาย ๆ รูปแบบ ในหลักสูตรฉบับเดียวกันก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้พบความแปลกใหม่เร้าความสนใจของผู้เรียนโดยตลอดหลักสูตร

ทฤษฎีการนำหลักสูตรไปใช้ : ทฤษฎีหลักสูตรที่ต้องเร่งสร้าง

ทฤษฎีการนำหลักสูตรไปใช้ : ทฤษฎีหลักสูตรที่ต้องเร่งสร้าง

หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

3R7C

3R7C

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญา การปั้นตุ๊กตาชาววัง

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญา การปั้นตุ๊กตาชาววัง

หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนถาด

หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนถาด

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม

ปรัชญาพื้นฐาน และ ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาพื้นฐาน และ ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีมาสโลว์

ทฤษฎีมาสโลว์

เก่งดี มีสุข

เก่งดี มีสุข

พระราชบัญญัติการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษา

พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร 6ด้าน และความหมายความสำคัญของการพัฒนาหลัสูตร

พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร 6ด้าน และความหมายความสำคัญของการพัฒนาหลัสูตร

พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร  6ด้าน

1. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา แบ่งออก 5ปรัชญา
                สารัตถนิยม  การศึกษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม และอุดมการณ์ทางสังคม การจัดการเรียนการสอนเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่างๆ ให้กับผู้เรียน
                นิรันตรนิยม  มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล การควบคุมตนเอง การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนจดจำ การใช้เหตุผล และตั้งใจทำสิ่งต่างๆ
                อัตถิภาวนิยม  มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง
                ปฏิรูปนิยม  การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
                พิพัฒนนิยม  การดำรงชีวิตที่ดี อยู่บนพื้นฐานของการคิดและการกระทำ การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือกระทำ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
                อัตถิภาวนิยม   มีเสรีในการคิด ปฎิบัติงาน เสรีในการดดำรงชีวิต แต่อยู่ร่วมกันต้องมีกฎกติกา

2. พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
 ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
        ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
                1. การเตรียมกำลังคน การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
                2. การพัฒนาอาชีพ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
                3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
                4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม
                6. การลงทุนทางการศึกษา คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
              ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5 ยุคคือ
        1.ยุคเกษตรกรรม
        2.ยุคอุตสาหกรรม
        3.ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล
        4.ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้
        5. ยุคปัญญาประดิษฐ์
            การศึกษาข้อมูลดังกล่าวนั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ ประการสำคัญอีกประการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมนั้นมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เพราะบางรายวิชา สภาพชุมชนและสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควรก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา  โดยข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมนี้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ

4 พื้นฐานทางด้านการเมือง การปกครอง
                การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น


5. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
                ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่            1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
            2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
            3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
            4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism) 

6. พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
               ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
                พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ 
                1.นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
                2.ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
                ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม

ความหมายความสำคัญของการพัฒนาหลัสูตร


วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 95) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร (Curriculum) มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า “race - course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เนื่องมาจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งอนาคต และในปัจจุบัน ความหมายของหลักสูตรหมายถึง มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

กาญจนาคุณารักษ์ ( 2550: 334) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกประเภท เพื่อให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมให้ตรงตามจุดประสงค์ทีกำหนดไว้

สันต์ ธรรมบำรุง (2557 : 152) สรุปความสำคัญของหลักสูตรไว้ ประการ คือ
        1. หลักสูตร เป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้แนวทางปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
        2. หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนรวมของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาชาติ
        3. หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เป็นบัญญัติของรัฐบาล หรือเป็นธรรมนูญในการจักการศึกษา เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฏิบัติตาม
        4. หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ของการศึกษาของรัฐแก่สถานศึกษาอีกด้วย
        5. หลักสูตรเป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา ที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุม ดูแลติดตามให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลด้วย
        6. หลักสูตรจะกำหนดแนงทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
        7. หลักสูตรจะกำหนดและลักษณะรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในรูปใด
        8. หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นการพัฒนากำลังซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบะสังคมแห่งชาติที่ได้ผล
        9. หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศใดจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงย่อมได้กำลังที่มีประสิทธิภาพสูง
           
          สงัด อุทรานันท์ (2558 : 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
1. หลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็นขั้นตอนอย่างดีแล้ว
2. หลักสูตร ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ
3.หลักสูตร เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นสำหรับให้ประสบการณ์ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน
4. หลักสูตร ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้ และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของโรงเรียน
            
          สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 10) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
          จากแนวคิดดังกล่าวแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร คือ แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific manament) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต (product approach)ซึ่งได้แก่ Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1981) โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable result) ในรูปแบบของความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ตามแนวคิดของบลูม 

          โบแชมป์ (Beauchamp, 2000:107ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ ประการ
1. เนื้อหา
2. จุดมุ่งหมาย
3. การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผล
สำหรับ ไทเลอร์ (Tyler, 1950) ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้
1. ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง
2. เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง
3. ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4. ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว
ทาบา (Taba, 1962 : 422. อ้างถึงในชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์ , 2551 : 48) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ต้องประกอบด้วย
1. จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ
2. เนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้
3. การประเมินผล
ดังนั้นจึงสามารถสรุปองค์ประกอบของหลักสูตร ได้ดังนี้
1. การวางแผนหลักสูตร (curriculum Planning) เป็นการใช้พื้นฐานแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ อย่างแรกต้องทราบจุดมุ่งหมายการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา มีการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ ผู้เรียนและสังคมอาจเพิ่มเติมด้านสาขาวิชาและด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร
2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) การออกแบบหลักสูตรคือ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้  โดยการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร
3. การจัดหลักสูตร (Curriculum Orgaziation) เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยต้องพิจารณาว่าตรงตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ และสอดคล้องกับคำถามที่ 3ของไทเลอร์ ที่ได้กล่าวว่า จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบริหาร การนิเทศและการจัดการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลของหลักสูตร รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต

ทาบา (Taba 2005: 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงเอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้

กู๊ด (Good. 2013 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ
1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา


โอลิวา (Oliva. 2011 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้
          1.การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าทีที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะการคิดผู้เรียน เป็นต้น
         2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของหลักสูตร ในลักษณะนี้จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือหลักสูตรที่เน้นการปฏิรูปสังคม เป็นต้น
        3.การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร คือ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

หลักสูตรท้องถิ่นการทำข้างโป่ง

ข้าวโป่ง:ขนมโบราณพื้นบ้านอีสาน(บ้านหนองขาม)



ข้าวโป่ง:ขนมโบราณพื้นบ้านอีสาน ประวัติความเป็นมาของข้าวโป่งขนมโบราณรสอร่อยของคนอีสานนั้น มีมากมายหลายชนิด เช่น ข้าวจี่ ข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ เป็นต้น บางชนิดก็คล้ายคลึงกับขนมพื้นเมืองโบราณของภาคอื่นๆ ขนมโบราณแต่ละชนิดล้วนมีความผูกผันกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ขนมอีสานที่มีคำว่า "ข้าว” นำหน้าอีกอย่างหนึ่งที่ทานแล้วไม่รู้จักเบื่อ นั่นก็คือ "ข้าวโป่ง”เป็นขนมอีสานที่มีมาแต่โบราณ คนทำต้องมีฝีมือพอสมควร
 
          ในสมัยก่อนคนโบราณถือว่าคนที่จะทำข้าวโป่งสวย ไม่มีที่ติ จะต้องเป็นช่างข้าวโป่งโดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าจะทำกินก็ตาม ให้ยกย่องช่างข้าวโป่งเหมือนกับช่างแขนงอื่นๆ เช่น ช่างไม้ ช่างทอง เป็นต้น ข้าวโป่งนั้นมีเรื่องเล่าว่าเกิดจากกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ที่ว่างจากการทำไร่ทำนาจึงได้คิดทำขนมให้เด็กๆได้กินเล่นรวมทั้งได้เป็นเครื่องถวายทานด้วย นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้นำไปเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในพีธีบูชาข้าวในบุญเดือนสี่ บุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะถวายข้าวจี่ ข้าวโป่ง แด่พระสงฆ์ เพื่อแสดงถึงความเคารพ จากนั้นนำบางส่วนใส่กระทงใบตองเอาแล้วนำไปวางที่หน้าธาตุบรรจุกระดูกของญาติตนเอง เพื่อให้คนที่ล่วงลับแล้วนั้นได้รับประทาน และจะมีการนำไปเป็นเครื่องถวายทานด้วยในบุญผะเหวด โดยจะย่างข้าวโป่งเพื่อใส่ในกันหลอนและถวายเป็นคายเทศ ซึ่งในกันหลอนนั้นจะประกอบไปด้วย ข้าวโป่ง ข้าวสาร หอมหัวแดง พริก และข้าวต้มมัด (อ่อนจันทร์ แก้วโภคา. 2555 : สัมภาษณ์)
 
          ตามประวัติความเป็นมา ในการทำข้าวโป่งนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการทำตั้งแต่สมัยใด แต่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้เล่าต่อๆกันมาว่าในสมัยโบราณนั้น เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ ดังนั้นข้าวจึงถือเป็นอาหารหลักของคนไทย ซึ่งข้าวที่นิยมปลูกก็จะเป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ดังนั้นข้าวจึงเป็นสิ่งที่ถือได้ว่ามีพระคุณต่อชีวิตประจำวันของคนเรา โดยเฉพาะคนอีสานนั้นจะเห็นว่ามีประเพณีที่สำคัญเกี่ยวกับการบูชาข้าว ไม่ว่าจะเป็น ประเพณีกวนข้าวทิพย์ซึ่งจะทำในช่วงออกพรรษา ประเพณีบุญข้าวจี่ การสู่ขวัญข้าว ประเพณีบุญผะเหวด ซึ่งประเพณีเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับข้าว (หวด ขานหยู. 2551 : 4)
 
          นอกจากนี้ในฮิตสิบสองครองสิบสี่ ยังกล่าวถึงการกินข้าวของชาวอีสานว่าต้องทำบุญก่อนปลูกข้าว ทำบุญตอนปักดำ ทำบุญตอนข้าวตั้งท้องทำบุญตอนเก็บเกี่ยวเสร็จ ทำบุญขนข้าวขึ้นเล้าทำบุญก่อนปิดเล้าทำบุญก่อนเปิดเล้าซึ่งพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวดังกล่าวเป็นกุศโลบายที่ขัดเกลาให้ชาวนาเคารพข้าวและเห็นคุณค่าของข้าวเป็นอย่างยิ่งการทำข้าวโป่งในสมัยก่อนจะมีสูตรและกรรมวิธีอย่างโบราณ และต้องใช้ความอุตสาหะในการทำ คือ จะต้องเอาข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำให้ละเอียดด้วยครกกระเดื่อง ภาษาอีสานเรียกว่า"ครกมอง” เพราะเวลานำข้าวโป่งไปปิ้งจะได้แผ่นข้าวโป่งที่สวยงาม ดังนั้น คนตำจึงต้องมีความอดทนอย่างยิ่ง เพราะการตำข้าวเหนียวนึ่งสุกยากกว่าการตำข้าวเปลือกหลายเท่า ในการตำต้องใช้เวลานาน เพราะครกกระเดื่องนั้นมีน้ำหนักมาก เวลาใช้เท้าเหยียบปลายครกกระเดื่องแต่ละครั้ง ให้สากโขลกลงไปในครกนั้นต้องออกแรงมาก เมื่อตำข้าวเหนียวนึ่งสุกละเอียดดีแล้ว คนอีสานโบราณจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือกระพังโหม ขยี้กับน้ำสลัดกับครกไปพลางตำไปพลาง เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับของชาวอีสานก็ว่าได้ จากนั้นเอาน้ำอ้อยมาโขลกแล้วตำผสมลงไปในครกกระเดื่อง เอาน้ำมันหมูทามือและปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง ต่อไปเอาก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นวางบนไม้แผ่น รีดให้แผ่ออกเป็นแผ่นบางๆ ตัดใบตองเป็นวงกลมตามขนาดที่ต้องการ ทาน้ำมันหมูลงบนใบตอง แล้วใช้กระบอกไม้ไผ่รีดข้าวเหนียวให้มีขนาดเท่ากับใบตอง แล้วนำไปตากให้แห้งการปิ้งข้าวโป่งจะใช้ฟืนก่อกองไฟขึ้นตรงลานบ้านให้ไฟแรงได้ที่ ใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกสานห่างๆรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 อัน มีที่จับ เวลาปิ้งเอาแผ่นข้าวโป่งตากแห้งวางบนไม้สานอันหนึ่ง ใช้มือจับชูอยู่เหนือกองไฟพอประมาณ แล้วพลิกไม้ไผ่สานให้แผ่นข้าวโป่งคว่ำลงบนไม้ไผ่สานอีกอันหนึ่ง ซึ่งใช้มืออีกข้างจับเตรียมรออยู่ใกล้ๆ คนปิ้งจะพลิกไม้ไผ่สานสลับกันไปมาจนกว่าข้าวโป่งจะสุก การพลิกข้าวโป่งจะต้องทำด้วยความรวดเร็ว เพราะข้าวโป่งจะเหลืองเกรียมไม่เสมอกันหรืออาจจะไหม้ได้ ชาวบ้านนิยมทำข้าวโป่งในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ เพราะเวลาปิ้งข้าวโป่งจะอยู่หน้ากองไฟตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย อีกทั้งเป็นการพักผ่อนหย่อนใจอีกอย่างหนึ่ง ที่ได้ทำขนมไว้ทานในครอบครัวและแบ่งปันญาติมิตรจะเห็นได้ว่า การทำข้าวโป่งนั้นเรียบง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสานมาตั้งแต่โบราณกาลที่พอใจในสภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมในการกินที่สืบทอดต่อกันมาจวบจนปัจจุบันในปัจจุบัน
 
          พัฒนาการในการผลิตข้าวโป่ง:ขนมโบราณพื้นบ้านอีสาน การทำข้าวโป่งของชาวอีสานยังคงอยู่ แต่กระบวนการผลิตนั้นได้พัฒนาไปจากอดีต เนื่องด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์ในการทำข้าวโป่งก็ได้ถูกพัฒนาเพื่อให้ผลิตได้ทันต่อการจำหน่าย จากเดิมที่เป็นครกกระเดื่องธรรมดาที่ใช้แรงงานคนในการผลิต ก็ได้มีการพัฒนา นำมอเตอร์มาติดเพื่อใช้พลังงานไฟฟ้า กลายเป็นครกกระเดื่องไฟฟ้าที่สามารถทุ่นแรงได้มากกว่าครกกระเดื่องแบบเดิม อีกทั้งได้มีการปรับปรุงส่วนผสมในการผลิตเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่น การผสมน้ำแตงโม เพื่อให้ข้าวโป่งยืดตัวดีและมีความมันวาว การผสมน้ำใบเตย แคลตาลูป


แนวคิด ทฤษฎี และปรัชญาการพัฒนาหลักสูตร

แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร 
นักการศึกษาหลายท่าน ได้อธิบายความหมายของการพัฒนาหลักสูตร ไว้คล้ายคลึงกันซึ่งสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 เป็นการทำหลักสูตร ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และลักษณะที่ 2 เป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน (Sowell. 1996 : 16) 
จากความหมายดังกล่าว พบว่า การพัฒนาหลักสูตรนั้น มีความหมายที่ครอบคลุมในหลายมิติตั้งแต่ การวางแผนหลักสูตร จัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร (Curriculum planning) การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ (Curriculum implementation) และการประเมินผลหลักสูตร (Curriculum evaluation) การพัฒนาหลักสูตรให้ดีและมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในแต่ละมิติว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด 
ปรัชญาทางการศึกษา 
ปรัชญา คือ แนวความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อสรรพสิ่งต่างๆในโลกของเรานี้ว่า ความจริงที่แท้จริงของสิ่งต่างๆนั้น คืออะไร และต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร แนวความเชื่อดังกล่าวมีหลากหลายความคิดแต่ที่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากลทั่วไปนั้น มี 5 สาขา คือ
1. ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มีความรู้ทักษะความเชื่อ เจตคติ อุดมการณ์ ที่เป็นแกนกลางหรือเป็นหลัก ทุกคนในวัฒนธรรมนั้นจะต้องรู้สิ่งเหล่านี้ และระบบการศึกษาจะมุ่งถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้แก่เยาวชน
จากความเชื่อดังกล่าว ระบบการศึกษา ควรเน้นหนักในการศึกษาความรู้และวัฒนธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ปรัชญาสารัตถนิยมจึงเน้นความไม่เปลี่ยนแปลงเพราะถือว่า ความรู้ ความจริง และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ได้รับการเลือกสรรแล้วอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ลัทธินี้มีความเชื่อในแนวทางที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม 
2. ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญานิรันตรนิยมนี้เริ่มโดย อริสโตเติ้ลและบาทหลวงโทมัสอาคีนัสเป็นผู้นำมาดัดแปลง ทั้งสองท่านได้ปูพื้นฐานของปรัชญานี้ไว้อย่างมั่นคง ความคิดและหลักการที่ท่านได้กำหนดไว้ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่สมัยยุคกลาง (Middle age) คำว่า Perennial ก็แปลว่า “ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา” 
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติ ของมนุษย์นั้นเหมือนกันทุกแห่ง สาระสำคัญในธรรมชาติของมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้ความคิด ใช้เหตุผล การจัดการศึกษาจึงเน้นการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและการใช้เหตุผล เนื้อหาสาระของสิ่งที่เรียน จึงเกี่ยวข้องกับความคิดและเหตุผล 
3. ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญาการศึกษานี้ ก่อตั้งในศตวรรษที่ 20 (1920) ในสหรัฐอเมริกา ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้น มิได้คงที่หรือหยุดนิ่ง หากจะเปลี่ยนสภาพไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อม และในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นลัทธินี้เชื่อว่า การศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ควรจะเปลี่ยนสภาพไปด้วยเมื่อถึงคราวจำเป็น ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ การศึกษามิใช่จะสอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้ตายตัว 
4. ปรัชญาปฏิรูปนิยม นักการศึกษาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของ ปรัชญาปฏิรูปนิยม คือ เทียวเดอร์ เบรมเมล (Theodore Brarneld) ชาวสหรัฐอเมริกา เขาได้รับเสนอแนวคิดรายละเอียดในการจัดการศึกษาตามแนวนี้ ในปี ค.ศ. 1950
ปรัชญานี้พัฒนาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ที่เน้นหนักการแก้ไขปรับปรุงสภาพสังคม โดยอาศัยการศึกษาผนวกกับปรัชญาพิพัฒนาการที่เน้นพัฒนาผู้เรียนไปตามต้องการความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก จากสองปรัชญาดังกล่าวทำให้เกิดปรัชญาปฏิรูปนิยม ที่เชื่อว่า การศึกษาควรเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม  
5. ปรัชญาอัตถิภาวนิยม ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า มนุษย์ต้องมีเสรีภาพที่จะเลือกในแนวทางที่ตนปรารถนา แต่ก็มีกติกาการเลือกอยู่ว่าต้องเลือกในสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง และดีสำหรับคนอื่นด้วยและเมื่อเลือกแล้วจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา 

Power point ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง