วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 5 ค้นหาเพิ่มเติมจาก internet


นักพัฒนาหลักสูตร
จอร์น ดิวอี้



        
     แนวคิด เรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
         1.ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง
         2.ขั้นทุติยภูมิ คือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นที่สอง
         จอร์น ดิวอี้ จึงต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4 อย่าง
                 1.แรงกระตุ้นทางสังคม
                 2.แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์
                 3.แรงกระตุ้นทางการค้นคว้าทดลอง
                 4.แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำ และการศิลปะ
          ดั้งนั้น แรงกระตุ้นทั้ง 4 อย่างนี้ ผู้เรียนมีความพร้อม และจะนำออกมาใช้ตามขั้นตอนของพัฒนาการของตน


ชิลเบอร์เมน
     ชิลเบอร์เมน  (Silberman,1970:9) สิ่งที่นักการศึกษาจะต้องตระหนักให้มากก็คือ  วิธีการที่เขาสอนและการกระทำของพวกเขามีความสำคัญมากกว่าสิ่งที่เขาสอน  นั่นก็คือวิถีทางที่เรากระทำกับสิ่งต่างๆ จะสร้างค่านิยมได้ตรงกว่าและมีประสิทธิผลมากกว่าที่เราได้สอนหรือพูดคุยกับเขาโดยตรงการปฏิบัติการในเชิงการบริหารที่มีลักษณะเฉพาะ 

บรูเนอร์

 บรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing  ซึ่งอยู่ใน ขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต มิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ Piaget ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา (Cognitive structure) มาตั้งแต่เกิดในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยายและซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน
          ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากแนวคิดของนักปรัชญาหรือปรัชญาการศึกษา แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม1.กลุ่มสารถนิยม2.กลุ่มสัจนิยม
            3.กลุ่มพิพัฒนาการนิยม
     4.กลุ่มปฏิรูปนิยม
       5.กลุ่มอัถภาวนิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น