วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Self-test and Activity unit2


Self-test and Activity unit2

Self-test and Activity
1.คำถาม: ทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ทฤษฎีหลักสูตร ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์
       ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร คุณสมบัติที่สำคัญของการพัฒนาหลักสูตร คือ หลักสูตรมีความเป็นพลวัต และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของ สังคม จากคุณสมบัติดังกล่าว การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกิจกรรมที่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการ จัดการศึกษาให้สนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

2.คำถาม: สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องนิยามความหมาย: ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ ทฤษฎีคือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น
จากคำจำกัดความข้างต้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประเด็น คือ
ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ
ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่าง ๆ และเมื่อได้ปฏิบัติตามทฤษฎีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่งทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- คำอธิบายในทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นแนวคิด ซึ่งทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีความแตกต่างกันไป เนื่องจากคำอธิบายนั้นตั้งอยู่บนหลักปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นจึงมีการแบ่งประเภทของทฤษฎีตามรูปคำอธิบายของหลักปรัชญาต่างๆ
 -ทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์ จะมุ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ทุกรูปแบบ ซึ่งแต่ละทฤษฎีจะอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือหลักปรัชญาของผู้สร้างทฤษฎีว่า ตัวแปรอะไรที่สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมนั้นได้
องค์ประกอบของทฤษฎี
 1. แนวความคิด (Concept)
 2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน (Proposition or Hypothesis)
 3. เหตุการณ์ (Contingency) ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน
หน้าที่ของทฤษฎี
1. จัดและสรุปข้อเท็จจริงต่าง ๆ
 2. เน้นความสำคัญของตัวแปร
 3. ขยายความหรือตีความเหตุการณ์
 4. ช่วยในการสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร
5. ทำนาย หรือคาดเดาเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ เหตุการณ์ต่าง ๆ
6. ถ่ายทอดความรู้
 7. ให้คุณค่าแก่การศึกษา ก่อให้เกิดการวิจัย โดยสามารถระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้ และนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีใหม่
8. กำหนดปทัสถานหรือคุณสมบัติของพฤติกรรม
ทฤษฎีหลักสูตร: ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
      Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทำนายและคาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฏการณ์ หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตร จึงเป็นการผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนำไปปฏิบัติในโรงเรียน โดยการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา
 ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน
  การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ระยะเวลา ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดำเนินการได้ทุกระยะเวลา และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสม และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น