self-and Activity บทที่ 4
1.คำถาม:หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย
สามารถปรับใช้ได้กับการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ใน ส่วนของการจัดการศึกษาปฐมวัย กำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเป็นการเฉพาะ
เพื่อเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการและเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้า
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษานำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานั้น
กำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาอย่างกว้าง ๆ
มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12 ปี
และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น ของสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม
สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา
ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้
สถานศึกษาต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด
หลักสูตรสถานศึกษา
เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการ ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง
มวลประสบการณ์ที่จัดขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ เจตคติ และคุณภาพการดำรงชีวิต โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บนพื้นฐานของสภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของตนเอง
ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. คำถาม:
สืบค้นจากหนังสือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ
การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย
ได้แก่
1.นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
1.นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
- หน่วยผลิตชุดการสอน
และวัสดุอุปกรณ์
-
หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
- หน่วยนิเทศและประสานงาน
- หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
- หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ
เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ
1.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม
ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2.
เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ
เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3.
เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4.
เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย
ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
1. สำรวจสภาพภูมิอากาศ
ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น
โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น
สรุป(Summary)
การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ในที่นี้เป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ใช้ข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กล่าวคือ การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น
มาบูรณาการการจัดกระบวนการทางการศึกษาการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวางแผนพัฒนาหลักสูตรจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์
หลักสูตรเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อนแล้วว่ามีผลต่อการใช้ปัจจุบันอย่างไรหากหลักสูตรเดิมไม่สนองต่อความต้องการของสังคมและผู้เรียนในปัจจุบันอันจะส่งผลไปสู่อนาคตเพื่อการผลิตคนสู่อนาคตแล้วก็ให้นำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวางแผนสร้างหลักสูตรใหม่
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจและจัดทำข้องมูลเกี่ยวกับบุคลากร องค์กรทางสังคม แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติ
และวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเนื้อหาต่างๆ
ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
ครูอาจจะพาผู้เรียนไปศึกษาและฝึกการทำงานในสถานที่จริงที่บ้านหรือ หน่วยงาน
หรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น
ครูอาจจะเชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ
หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆ มาเป็นวิทยากรในโรงเรียน
การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความแปลกแยกกับท้องถิ่น
สามารถนำเนินชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงรอบๆ
ตัว
การเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นการประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน เป็นการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาการศึกษาและท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตามความต้องการและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ
ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น