แบบจำลองของทาบา
ในหนังสือจำนวนหลายเล่มที่ทาบา (Taba)
ได้เขียนเกี่ยวกับหลักสูตรเล่มที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาหลักสูตรคือ
(Curriculum Development: Theory and Practice) ในหนังสือ
เล่มนี้ทาบาได้กำหนดหัวเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตรโดยทาบาได้ขยายแบบจำลองพื้นฐานแบบไทเลอร์
จนกลายเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้พัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนมากขึ้น
Tuba Model
In many books, Taba has written about the most
widely known curriculum and influenced Curriculum Development: Theory and
Practice. In this book, Taba has set the subject. The process of developing the
curriculum by TABA has expanded the TESA basic model.
Lorraine became a representative of the curriculum
development in the school.
แต่แบบจำลองนี้ยังคงเป็นเส้นตรงอยู่
ทาบาอ้างเหตุผลสำหรับสารสนเทศที่ให้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการหลักสูตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทาบาได้แนะนำพิจารณาสองประการคือพิจารณาเนื้อหา
การจัดหลักสูตรอย่างมีเหตุผล และพิจารณาผู้เรียนแต่ละคน
(การจัดหลักสูตรอย่างมีจิตวิทยา) เพื่อที่จะเน้นในหลักสูตรเหล่านั้น
ทาบาอ้างว่าหลักสูตรทั้งหมดประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานหลักสูตรโดยปกติจะประกอบด้วยการเลือกและการจัดเนื้อหาบางอย่างซึ่งแสดงในหรือรูปแบบที่แท้จริงของการเรียนการสอนและสุดท้ายยังรวมเอาโปรแกรมการประเมินผลที่ได้รับ
ทาบาแนะนำวิธีการจากระดับล่าง (grass-roots
approach) เป็นที่รู้จักกันดี นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร โดยเชื่อว่าครูควรเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรมากกว่าที่จะเอาหลักสูตรจากผู้มีอำนาจหน้าที่ในระดับสูงกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น ทาบารู้สึกว่า
ครูควรจะเริ่มต้นกระบวนการโดยการสร้างสรรค์หน่วยการสอน-การเรียนรู้เฉพาะสำหรับนักเรียนของตนเองในโรงเรียนก่อนมากกว่าที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ออกแบบหลักสูตรทั่วไป
ดังนั้นทาบาจึงสนับสนุนวิธีการเชิงอุปนัย (inductive approach) ในการพัฒนาหลักสูตรโดยเริ่มจากสิ่งที่เฉพาะเจาะจงแล้วสร้างให้ขยายไปสู่การออกแบบในลักษณะรวมซึ่งเป็นวิธีการที่ตรงกันข้ามกับวิธีการเชิงนิรนัย
(deductive approach) อย่างที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อน(traditional)
ซึ่งเริ่มด้วยการออกแบบลักษณะรวมทั่วๆ
ไปแล้วนำไปสู่รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น