วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

Self-Test and Activity Unit 7

Self-Test and Activity Unit 7
Self-Test and Activity Unit 7
คำถาม:แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร มีองค์ประกอบหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ: การเปรียบเทียบองค์ประกอบหลักสูตรจากแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (1962)
โบแชมพ์ (1981)
ไทเลอร์ (1949)
1. การวินิจฉัยความต้องการ
2. การกําหนดจุดประสงค์
3. การเลือกเนื 8อหาสาระ
4. การจัดเนื้อหาสาระ
5. การเลือกประสบการณ์ การเรียนรู้
6. การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
7. การประเมินผล
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การกําหนดขอบข่าย ของเนื้อหาสาระ
3. การวางแผนการใช้ หลักสูตร
4. การพิจารณาตัดสิน
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การเลือกเนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้
3. การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
4. การประเมินผลการเรียนรู้

การพิจารณาตัดสิน องค์ประกอบหลักสูตรจะเป็นสิ่งกําหนดแนวคิด ระบบ และความสอดคล้องของเอกสาร หลักสูตรและการสอน ซึ'งจะช่วยให้คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรใช้เป็นแนวทางสําหรับการศึกษา หลักสูตรทั่วไป

คำถาม: สืบค้นจากอินเทอร์เน็ตหรือหนังสือเรื่องแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร 
ตอบ การพัฒนาหลักสูตรได้มีผู้ให้แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น ไทเลอร์ (Tyler) ทาบา (Taba) โอลิวา (Oliva) เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor & Alexander) โบแชมป์ (Beauchamp) เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และออกแบบหลักสูตร (SU Model) ดังนี้

จากแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร (SU Model) เมื่อนำมาเทียบกับขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (บิดาแห่งการพัฒนาหลักสูตร) จึงได้ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน จากการตอบคำถามเบื้องต้นของไทเลอร์ ดังนี้ จุดประสงค์ของการศึกษาของโรงเรียนคืออะไร (การกำหนดจุดประสงค์ วางแผน)ก่อนกำหนดจุดประสงค์ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคม และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว นำข้อมูลมาตั้งจุดประสงค์ชั่วคราว จากนั้นพิจารณาข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ ปรัชญา และทฤษฏีการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นจุดประสงค์ที่แท้จริง คำที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดประสงค์ของการศึกษาของโรงเรียน คือ ความมุ่งหมาย (Aims) จุดหมาย (Goals) และจุดมุ่งหมาย (Objectives)

2.ประสบการณ์ทางการศึกษาสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้คืออะไร (การออกแบบหลักสูตร)
เมื่อได้จุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตรแล้ว จากนั้นเป็นขั้นตอนของการออกแบบหลักสูตร โดยเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ซึ่งออนสไตน์และฮันคินส์ (Ornstein และ Hunkins. 1993 : 236 – 241) และ เฮนเสน (Hensen. 2001 : 199 – 201) กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
2.1 การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร (Scope) คือการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆของแต่ละระดับชั้น
.2 การจัดลำดับการเรียนรู้ (Sequence) คือการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา ควรจัดลำดับจากง่ายไปยาก
2.3 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือการจัดเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะต่างๆให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
2.4 ความสอดคล้องเชื่อมโยง (Articulation) คือเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ แม้ต่างวิชากันก็ตาม
2.5 การบูรณาการ (Integration) คือการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่งไปอีกรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกัน
2.6 ความสมดุล (Balance) คือความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ ที่สำคัญคือความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เมื่อได้หลักพิจารณาทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว จากนั้นพิจารณารูปแบบของการออกแบบหลักสูตร ดังนี้
การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered Designs)
หลักสูตรแบบรายวิชา (subject design)
หลักสูตรแบบสาขาวิชา (discipline design)
หลักสูตรหมวดวิชา (broad fields design)
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (correlation design)
หลักสูตรเน้นกระบวนการ (process design)
การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Designs)
หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child – centered designs)
หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (experience – centered designs)
หลักสูตรแบบจิตนิยม (romantic /radical designs)
หลักสูตรมนุษยนิยม (humanistic designs)
การออกหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ (Problem-centered Designs)
หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (life – situations designs)
หลักสูตรแกน (core designs)
หลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม (social problems and reconstructionist designs)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น