วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

self test and activity Unit6


self test and activity Unit6

Self Test and Activity Unit 6
คำถาม การพัฒนาหลักสูตร มีหลักการและขั้นตอนสำคัญโดยสรุป
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ และเป็นการวางแผนการประเมินผลให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ว่าได้บรรลุตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์จริงหรือไม่ เพื่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะได้รู้และคิดเพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไป ดังนั้น หลักสูตรที่ดีและเหมาะสมจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองของประเทศตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร อย่างเป็นระบบซึ่งมีขึ้นตอนสำคัญสรุปได้ดังนี้
            ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อวินิจฉัยปัญหาและความต้องการ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ
            ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าประสงค์ จุดหมายและจุดประสงค์ หลังจากได้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานแล้ว จะพิจารณาและกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา
            ขั้นที่ 3 การเลือกและการจัดเนื้อหา จะต้องมีความถูกต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีความสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัย เนื้อหาต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน และเนื้อหานั้นเป็นสิ่งที่สามารถจัดให้ผู้เรียนได้ ในแง่ของความพร้อมด้านเวลา ผู้สอน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
            ขั้นที่ 4 การเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว รวมไปถึงยุทธวิธีการสอน การเลือกใช้สื่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
ขั้นที่ 5 การกำหนดอัตราเวลาเรียน หลักเกณฑ์ในการวัดประเมินผลการเรียน กำหนดเวลาเรียนการสอน โดยจัดเนื้อหาวิชาตามลำดับก่อนหลังให้สัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ส่วนการวัดผลประเมินผล ควรกำหนดวิธีการเกณฑ์การจบหลักสูตร
ขั้นที่ 6 การนำหลักสูตรไปใช้ หลังจากล่างหลักสูตรแล้วต้องมีการตรวจสอบข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม
ขั้นที่ 7 การประเมินผลหลักสูตร เมื่อใช้หลักสูตรไปได้สักระยะหนึ่ง ควรมีการประเมินผลหลักสูตรในด้านต่างๆว่ามีข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง
ขั้นที่ 8 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร หลังจากที่ทราบข้อบกพร่องของหลักสูตร อาจจะต้องมีการศึกษาปัญหาเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องให้หลักสูตรเหมาะสมยิ่งขึ้น
หัทยา เจียมศักดิ์ (2539 : 12) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
สวัสดิ์ จงกล (2539 : 19) ได้ให้ความหมายว่าการพัฒนาหลักสูตร คือ การเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
จากการที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับ แต่ง เสริม เติมต่อ หรือการดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสนองต่อความต้องการของผู้เรียน
คำถาม: สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ:   รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรส่วนมากจะพัฒนามาจากแนวคิดของนักการศึกษาชาวต่างประเทศ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่กระบวนการและขั้นตอนควรประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ซึ่งประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา ผู้เรียน สังคม สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีและอื่นๆ เพื่อนำมากำหนดจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้จัดลงในหลักสูตร แล้วนำหลักสูตรไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไขหลักสูตรที่สมบูรณ์และนำไปใช้ สุดท้ายทำการประเมินผลหลักสูตรและนำผลจากการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่อไป กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นวัฏจักรประกอบด้วย
ความหมายหลักสูตร
กาญจนา คุณารักษ์ (2540: 14) กล่าวว่า “หลักสูตร” หมายถึง โครงการหรือแผนข้อกำหนดอันประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง กิจกรรมและวัสดุต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนมีความสามารถและเกิดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
ทาบา (Taba 1962: 10) กล่าวว่า “หลักสูตร” หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
จากนิยามข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า “หลักสูตร” หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้       
ความหมายทฤษฎี
 ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์

ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 504) ให้ความหมายคำว่า “ทฤษฎี” หมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ
แคปแลน (
Kaplan, A. 1964) กล่าวไว้ว่า “ทฤษฎี” เป็นแนวทางที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลด้วยการกระทำอย่างมีประสิทธิผลในการทำความเข้าใจจากปรากฏการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งหรือปรับเปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันและทดแทนด้วยสถานการณ์ใหม่ที่ต้องการ    
ขั้นตอนการสร้างทฤษฏี  ในการสร้างทฤษฏีมีกฎพื้นฐาน 2 ประเด็นที่ควรคำนึงถึง ได้แก่
(1.) การนิยาม หรือการทำความชัดเจนเกี่ยวกับ “คำเฉพาะ” ถ้อยคำที่นำมาสร้างทฤษฎีต้องมีความกระจ่างชัด ในการนิยามต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย
(2.) การจัดหมวดหมู่ โดยนักทฤษฎีจะรวบรวมเนื้อหาสาระให้เป็นระบบระเบียบ และรวบรวมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การสร้างทฤษฏีหลักสูตร
โบแชมพ์ (
Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (
Design theories) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
โบแชมพ์ ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร
2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (
Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร กนได้มากที่สุดการใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถ
ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลัก
ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น